วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเรียน วันที่ 17 สิงหาคม 2555

                                     
         
            วันนี้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบข้อสอบกลางภาค และได้แจกข้อสอบของนักศึกษาแต่ละคน ให้ดูว่าได้คะแนนเท่าไหร่ ทำผิดตรงไหนบ้าง เพื่อนักศึกษาได้ตรวจทานคะแนนของตนเองว่าอาจารย์ได้ให้คะแนนถูกต้องหรือไม่ หากข้อสอบของนักศึกษาคนใดอาจารย์ใส่คะแนนผิดสามารถบอกว่าอาจารย์ให้คะแนนผิดในส่วนไหน และอาจารย์จะนำไปแก้ไขให้   หลังจากเฉลยข้อสอบเสร็จ อาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่องงานวิจัยของแต่ละกลุ่ม โดยมีหัวข้อในการวิจัยดังนี้



 บทที่1 บทนำ
1.ที่มาและความสำคัญของปัญหา
2.วัตถุประสงค์
3.ขอบเขต
4.นิยามศัพท์

บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ห้องสมุดดิจิทัล
2.ขั้นตอนในการพัฒนา
3.E-book
4.ตัวอย่างห้องสมุดดิจิทัล
5.Greenstone
6.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 การดำเนินงานวิจัย
1.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.ดำเนินการพัฒนาห้องามุดดิจิทัล
3.ทดสอบระบบ

              จากที่อาจารย์ได้บอกหัวข้อวิจัยข้างต้นแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มปรึกษางานวิจัยร่วมกับเพื่อนๆในกลุ่มของตนเอง หากมีข้อสัยอาจารย์ก็จะให้คำปรึกษา แนะแนวทางในการทำงานวิจัย เพื่อที่นักศึกษาจะได้แก้ไขงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง

การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมและความร่วมมือในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ประเภทข้อมูลเอกสารโบราณ 27 กรกฎาคม 2555

ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2555 ได้เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมและความร่วมมือในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ประเภทข้อมูลเอกสารโบรา



 โดยมีหัวข้อในการบรรยายดังนี้
1.ฟังบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ และ ดร.สุพิน  ฤทธิ์เพ็ญ  หัวข้อการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมประเภทข้อมูลเอกสารโบราณและการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลเอกสารโบราณ
2.ฟังบรรยายโดยอาจารย์ จิตรา สามสา หัวหน้าหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาภาพยัพ   หัวข้อคุณค่าของข้อมูลเอกสารโบราณและการจัดการข้อมูลเอกสารโบราณอย่าง ยั่งยืน
3.ฟังบรรยาย โดยคุณบรรเจิด ดีมงคล หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่  หัวข้อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
 
เอกสารโบราณคืออะไร

ที่มา: คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ๒๕๔๘

เอกสารโบราณ หมายถึง หลักฐานที่เป็นภาษาและตัวหนังสือแต่เก่าก่อน ซึ่งสำเร็จด้วยหัตถกรรม เป็นเอกสารที่บันทึกสรรพวิชาการของบรรพชนไทยด้านประวัติศาสตร์ของชาติ อารยธรรมของสังคมกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย รวมถึงวรรณกรรม วัฒนธรรม จริยธรรม และคุณธรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างของอดีตอันเป็นพื้นฐานของสังคมในปัจจุบัน เอกสารโบราณจึงเป็นคำรวมที่ใช้เรียกหนังสือต้นฉบับตัวเขียน ตัวชุบ ตัวจาร และตัวจารึก
เอกสารโบราณเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดมาถึงอนุชนในยุค ปัจจุบัน เป็นผลงานอันเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพชน ที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปของหนังสือตัวเขียนและจารึก เอกสารโบราณเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมาย เป็นเอกสารวิชาการอันสำคัญยิ่ง ใช้เป็นข้อมูลศึกษาวิจัยเรื่องต่างๆ เป็นต้นว่า รูปแบบอักษร ภาษา ที่ประจำอยู่ตามท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมถึงใช้เป็นหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศาสนา ศิลปะ และอักษรศาสตร์ ฯลฯ
โครงสร้าง หรือ รูปแบบทางกายภาพของเอกสารโบราณ ประกอบด้วยวัตถุรองรับตัวหนังสือและเส้นอักษร ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร และภาษาแต่เก่าก่อน อันสำเร็จด้วยหัตถกรรม จำแนกออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ๓ ประเภท คือ จารึก ใบลานซึ่งสำเร็จรูปเป็นคัมภีร์ใบลาน และกระดาษในรูปลักษณ์หนังสือสมุดไทย
จารึก เป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่งที่บันทึกลายลักษณ์อักษรลงบนวัตถุชนิดต่างๆ ที่มีความแข็งแรง คงทนถาวร เก็บรักษาไว้ได้นาน มีรูปทรงต่างๆ เป็นแท่ง เป็นแผ่นบางๆ หรือเป็นส่วนหนึ่งของประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เช่น ฐานพระพุทธรูป และเสาขอบประตูปราสาท เป็นต้น จารึกเหล่านี้จำกัดให้เรียกชื่อตามชนิดของวัตถุ เช่น แผ่นศิลา เรียกว่า ศิลาจารึก แผ่นทอง เรียกว่า จารึกแผ่นทอง และบางทีก็เรียกชื่อตามรูปสัณฐานของจารึก เช่น จารึกฐานพระพุทธรูปนาคปรก เป็นต้น
ใบลาน เป็นเอกสารโบราณที่จดจารลายลักษณ์อักษรไว้บนใบลานซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติได้มาจาก ใบของต้นลาน จึงเรียกโดยทั่วไปว่า หนังสือใบลาน แต่เนื่องจากคนไทยโบราณนิยมจารเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาลงในใบลาน จึงนิยมเรียกหนังสือใบลานว่า คัมภีร์ใบลาน
ใบลานใช้จารตัวอักษรได้ ๒ ด้าน ด้วยเหล็กแหลม เรียกว่า เหล็กจาร ขีดลงไปให้เป็นร่องรูปอักษรบนใบลาน แล้วใช้เขม่าไฟผสมน้ำมันยางลบให้เห็นตัวอักษรเด่นชัด เมื่อจะทำใบลานให้เป็นเล่มหนังสือ ต้องร้อยเชือกเรียกว่า สายสนอง เข้าไปในรูที่เจาะไว้ทางด้านซ้าย เรียกว่าร้อยหู เพื่อรวมเป็นผูก หลายๆ ผูกรวมเป็นคัมภีร์หนึ่ง แต่ละคัมภีร์ จะมีไม้ประกับหัวท้ายกำกับไว้ แล้วมัดรวมกันโดยมีผ้าห่อรอบนอกอีกชั้นหนึ่ง นอกผ้าห่อคัมภีร์จะเสียบฉลาก หรือป้ายบอกชื่อคัมภีร์ไว้ด้วยกับยังนิยมตกแต่งขอบคัมภีร์ ใบปกหน้า ใบปกหลัง และไม้ประกับด้วยสีและลวดลายต่างๆ เช่น ปิดทองทึบ ปิดทองล่องชาด และลายรดน้ำ โดยเฉพาะไม้ประกับบางครั้งมีการตกแต่งเป็นพิเศษ เช่น ประดับมุก คร่ำเงิน คร่ำทอง เป็นต้น ผ้าที่ใช้ห่อคัมภีร์ก็นิยมใช้ผ้าชั้นดี เช่น ผ้าไหม และแม้ฉลากคัมภีร์ก็นิยมประดิษฐ์ให้งดงาม ด้วยวัตถุชนิดต่างๆ เช่น ไม้ หรือ งา จำหลักนูนต่ำเป็นลายดอกไม้และลายอื่นๆ ก็มี
กระดาษ เอกสารโบราณประเภทกระดาษ ซึ่งเขียนหรือชุบลายลักษณ์อักษรไว้บนกระดาษที่เป็นแผ่นหรือเป็นเล่ม และหรือบนวัตถุอื่น ซึ่งสำเร็จด้วยวิธีเขียน หรือชุบนั้น ถ้าเป็นกระดาษแผ่นบาง ยาวๆ พับกลับไปกลับมา เป็นเล่มสมุด เรียกว่า หนังสือสมุดไทย
หนังสือสมุดไทยมี ๒ สี คือ สีดำ และสีขาว เรียกว่า สมุดไทยดำ และสมุดไทยขาว ในเขตจังหวัดภาคใต้ นิยมเรียกว่า บุดดำ บุดขาว สำหรับภาคกลางนิยมทำจากเปลือกต้นข่อย ทำให้มีชื่อเรียกตามวัสดุที่ใช้ว่า สมุดข่อย ส่วนในจังหวัดภาคเหนือนิยมใช้เปลือกต้นสาทำกระดาษ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมุดกระดาษสา และเรียกกระดาษ เพลา ซึ่งเป็นกระดาษแผ่นบางๆ ว่า กระดาษน้ำโท้ง ถ้าซ้อนกระดาษเป็นปึกแล้วเย็บรวมกันด้านเดียว เรียกว่า ปั๊บสา วัสดุที่ใช้เขียนมีหลายอย่าง เช่น ดินสอขาว น้ำหมึกสีดำ และน้ำหมึกสีเหลืองที่ได้จากส่วนผสมของรงกับหรดาล เป็นต้น
การเขียนหนังสือลงบนสมุดไทยเขียนได้ ๒ หน้าๆ ละประมาณ ๓-๕ บรรทัด คนไทยโบราณนิยมเขียนอักษรใต้เส้นบรรทัด การเขียนอักษรบนเส้นบรรทัดเพิ่งจะมานิยมเขียนกันในช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นี้เอง
เอกสารโบราณทั้ง ๓ ประเภทไม่เพียงแต่จะมีรูปลักษณะที่แปลก และแตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ รูปอักษร ภาษา และเรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารโบราณเหล่านั้น จะเห็นได้ว่าเอกสารโบราณแต่ละชิ้นซึ่งพบในภูมิภาคต่างๆ สร้างขึ้นในยุคสมัยต่างกัน รูปอักษร และภาษาที่ใช้ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย คุณค่าของเอกสารโบราณจึงมีอยู่มากมายหลายสาขาวิชา มีทั้งประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ศาสนา ศิลปะ ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย เวชศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นต้น
เกษียร มะปะโม นักอักษรศาสตร์ ๙ ชช. (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ) สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร


แหล่งอ้างอิง


วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การนำเสนอห้องสมุดดิจิทัล 20 กรกฎาคม 2555

          
             ในการนำเสนอห้องสมุดดิจิทัล 20/07/55 วันนี้ได้มีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลของแต่ละคน  ตามที่นักศึกษาแต่ละคนกำหนดหัวข้อห้องสมุดดิจิทัลในกลุ่มของตนเองว่าจะศึกษาเกี่ยวกับอะไร เช่น เราเลือกจะศึกษาเกี่ยวกับห้องสมุดที่เกี่ยวกับสุขภาพ , ห้องสมุดที่เกี่ยวกับเพลง เป็นต้น  โดยแต่ละกลุ่มหาห้องสมุดดิจิทัลเรื่องที่ศึกษานั้นมาคนละ 5 แห่ง และ หาข้อมูลตามที่อาจารย์กำหนดดังนี้

1.ข้อมูลทั่วไป
          - ชื่อห้องสมุดดิจิทัล
          - URL
- พันธกิจ
- ชุมชน
- ผู้พัฒนา
2. สารสนเทศดิจิทัล
- ประเภทของสารสนเทศดิจิทัล
- การจัดการ
- Metadata
- Phyical library
3. บริการ
- การเข้าถึง
- การสืบค้น
- บริการอ้างอิง
- แนะนำการใช้งาน
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4. เทคโนโลยี
- สถานที่จัดเก็บไฟล์และฐานข้อมูล
- ระบบการจัดการฐานข้อมูล
- ฮาร์ดแวร์
- Interface
- Seccurity
5. อื่นๆ
- สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดดิจิทัล
- URL ที่เกี่ยวข้อง

           โดยอาจารย์จะดูว่าสิ่งที่นักศึกษานำเสนอมานั้นเป็นห้องสมุดดิจิทัลหรือไม่ ศึกษามาตรงกับที่เลือกหัวข้อหรือไม่ หากหามานำเสนอแล้วไม่ถูกต้อง ก็จะมีการนำกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง หรือเปลี่ยนหัวข้อเป็นเรื่องใหม่


วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library) week 1


         อาจารย์ได้อธิบาย แนวคิดและหลักการสอนรายวิชา ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิตอลในเบื้องต้น มีการอธิบายถึงรายละเอียดวิชา วัตถุประสงค์  วิธีการสอน  สื่อการสอน เกณฑ์การให้คะแนน  เนื้อหาในบทเรียนต่างๆ  และงานที่จะต้องไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ทำความรู้จักกับ ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library) week 2


          อาทิตย์ที่สองของการเรียน อาจารย์เริ่มสอนในหัวข้อ 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ ซึ่งห้องสมุดดิจิตอลติด 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันเราให้สะดวกสบายและเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น และอาจารย์สอนตามหัวข้อต่างๆดังนี้

1.What is a digital library?  อาจารย์ให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิตอลว่าห้องสมุดดิจิตอลในความคิดนักศึกษาคืออะไร การให้นิยามความหมายของห้องสมุดดิจิตอลตามความคิดของนักศึกษา
2.ความแตกต่างและความเหมือนระหว่างห้องสมุดแบบเดิม และห้องสมุดดิจิตอล
3.แนวคิดของห้องสมุดดิจิตอล
4.ความสำคัญของห้องสมุดดิจิตอล
5.ทรัพยากรสารสนเทศดิจิตอล
6.คำที่มีความหมายที่ใกล้เคียง
7.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
8.ห้องสมุดเสมือน
9.ห้องสมุดยุคใหม่

ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ 

 

10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มีดังนี้

อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)
อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)
อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์ไร้สาย)
อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)
อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)
อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)
อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)
อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)
อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)
อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)






และ 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ คือห้องสมุดดิจิทัล (อันดับที่ 10)



     
     ความหมายของห้องสมุดดิจิตอล   เป็น ห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้ เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรง

     ห้องสมุดดิจิติล (Digital library) ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า  ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library)  แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม   ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์

ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง

ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.
 
ดังนั้นในความหมายของห้องสมุดดิจิตอลประกอบด้วย

1. ห้องสมุดที่มีการจัดหาหรือสร้างข้อมูล Information contents ให้เป็น Digital objects.
2. ห้องสมุดที่มีการจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่เรียกว่า เป็น Digital objects เริ่มจากมีการจัดการ การเผยแพร่ข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักหรือในหลาย ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repositories) ผ่านระบบเครือข่าย
3.ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเป็นเนื้อหาเต็มรูปโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาที่อาคารห้องสมุดและไม่ใช้ข้อมูลผ่านผู้ให้บริการหรือบรรณารักษ์
4.ห้องสมุดดิจิตอลมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ  และการติดต่อกับผู้ใช้
5.ห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata เพื่อความสะดวก ในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิตอลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตอลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ลักษณะของห้องสมุดดิจิตอล 
   
   องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสารสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้ 


1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า  digital object หรือเรียกว่า Collection of information objectsได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร  รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว (Language – based, Image – based, Sound – based, Motion – based) จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repository) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูล (Server)
2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
6. มีวัฎจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิตอล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination)การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)

ความแตกต่างของห้องสมุดแบบเดิมและห้องสมุดดิจิตอล
การทำงานของห้องสมุดแบบเดิมผู้ใช้จะมาใช้ทรัพยากรสารนิเทศ  เช่นหนังสือ วารสาร   สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในสถานที่จัดเก็บทรัพยากรคือห้องสมุด  หรือใช้ค้นรายการบรรณานุกรมก่อนที่จะหาทรัพยากรที่ต้องการ เป็นห้องสมุดที่เน้นการมี Collection บริการภายในอาคารสถานที่

ส่วนห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Server) โดยผู้ใช้เข้าใช้ข้อมูลได้โดยตรงผ่านระบบเครือข่ายหรือค้นผ่านรายการสืบค้น (Catalog) โดยมีองค์ประกอบ การทำงานของห้องสมุดดิจิตอลได้แก่ การสร้างและจัดหา (Creat and capture) การจัดเก็บและจัดการข้อมูล (Storage and Management ) การสืบค้น (Search / Access) การเผยแพร่ข้อมูล (Distribution) และการพิจารณาในแง่ลิขสิทธิ์ของข้อมูลก่อนที่จะนำไปใช้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e - Book คือ อะไร
e - Book (electronic book) หมายถึง หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม หรือเครื่องอ่าน e-book โดยเฉพาะ มีลักษณะเด่นกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษที่สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกเหนือจากข้อความที่เป็นตัวอักษร อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่าน
ปัจจุบันนอกจากห้องสมุดจะให้บริการในรูปสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีการบอกรับเป็นสมาชิกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในบางสาขาวิชา ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาความรู้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล สามารถอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมีการเรียกใช้ทางอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ เรียกว่า e-book reader

การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing)
การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เป็นหนังสือที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่พิมพ์เนื้อหาสาระของหนังสือบนกระดาษ หรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเปิดอ่านได้จากจอภาพคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรง แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถมากมาย เช่น ข้อความภายในหนังสือสามารถเชื่อมโยงกับข้อความภายในหนังสือเล่มอื่นได้ โดยเพียงผู้อ่านกดเม้าส์ในตำแหน่งที่สนใจแล้ว www Browsers จะทำหน้าที่ดึงข้อมูลที่เชื่อมโยงมาแสดงให้อ่านหนังสือได้ทันที

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สามารถแสดงข้อความ อักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหวเสมือนวิดีโอ นอกจากนี้สามารถสอบถามและสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากจอคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว สามารถอ่านหนังสือ หรือสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นแฟ้มข้อมูลประเภทข้อความ (Text file) สามารถเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยโปรแกรมแท็กซ์เอติเตอร์ หรือเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั่วไปก็ได้ ข้อความที่เขียนต้องเป็นไปตามหลักภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยภายในแฟ้มประกอบด้วยข้อความที่ต้องการให้อ่าน และข้อความกำกับเมื่อดูด้วยโปรแกรม Browsers จะเห็นเฉพาะข้อความจริงเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง: