วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำความรู้จักกับ ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library) week 2


          อาทิตย์ที่สองของการเรียน อาจารย์เริ่มสอนในหัวข้อ 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ ซึ่งห้องสมุดดิจิตอลติด 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันเราให้สะดวกสบายและเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น และอาจารย์สอนตามหัวข้อต่างๆดังนี้

1.What is a digital library?  อาจารย์ให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิตอลว่าห้องสมุดดิจิตอลในความคิดนักศึกษาคืออะไร การให้นิยามความหมายของห้องสมุดดิจิตอลตามความคิดของนักศึกษา
2.ความแตกต่างและความเหมือนระหว่างห้องสมุดแบบเดิม และห้องสมุดดิจิตอล
3.แนวคิดของห้องสมุดดิจิตอล
4.ความสำคัญของห้องสมุดดิจิตอล
5.ทรัพยากรสารสนเทศดิจิตอล
6.คำที่มีความหมายที่ใกล้เคียง
7.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
8.ห้องสมุดเสมือน
9.ห้องสมุดยุคใหม่

ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ 

 

10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มีดังนี้

อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)
อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)
อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์ไร้สาย)
อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)
อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)
อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)
อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)
อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)
อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)
อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)






และ 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ คือห้องสมุดดิจิทัล (อันดับที่ 10)



     
     ความหมายของห้องสมุดดิจิตอล   เป็น ห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้ เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรง

     ห้องสมุดดิจิติล (Digital library) ใช้ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า  ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library)  แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม   ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์

ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง

ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.
 
ดังนั้นในความหมายของห้องสมุดดิจิตอลประกอบด้วย

1. ห้องสมุดที่มีการจัดหาหรือสร้างข้อมูล Information contents ให้เป็น Digital objects.
2. ห้องสมุดที่มีการจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่เรียกว่า เป็น Digital objects เริ่มจากมีการจัดการ การเผยแพร่ข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักหรือในหลาย ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repositories) ผ่านระบบเครือข่าย
3.ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเป็นเนื้อหาเต็มรูปโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาที่อาคารห้องสมุดและไม่ใช้ข้อมูลผ่านผู้ให้บริการหรือบรรณารักษ์
4.ห้องสมุดดิจิตอลมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ  และการติดต่อกับผู้ใช้
5.ห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata เพื่อความสะดวก ในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิตอลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตอลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ลักษณะของห้องสมุดดิจิตอล 
   
   องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสารสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้ 


1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า  digital object หรือเรียกว่า Collection of information objectsได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร  รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว (Language – based, Image – based, Sound – based, Motion – based) จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repository) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูล (Server)
2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
6. มีวัฎจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิตอล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination)การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)

ความแตกต่างของห้องสมุดแบบเดิมและห้องสมุดดิจิตอล
การทำงานของห้องสมุดแบบเดิมผู้ใช้จะมาใช้ทรัพยากรสารนิเทศ  เช่นหนังสือ วารสาร   สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในสถานที่จัดเก็บทรัพยากรคือห้องสมุด  หรือใช้ค้นรายการบรรณานุกรมก่อนที่จะหาทรัพยากรที่ต้องการ เป็นห้องสมุดที่เน้นการมี Collection บริการภายในอาคารสถานที่

ส่วนห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Server) โดยผู้ใช้เข้าใช้ข้อมูลได้โดยตรงผ่านระบบเครือข่ายหรือค้นผ่านรายการสืบค้น (Catalog) โดยมีองค์ประกอบ การทำงานของห้องสมุดดิจิตอลได้แก่ การสร้างและจัดหา (Creat and capture) การจัดเก็บและจัดการข้อมูล (Storage and Management ) การสืบค้น (Search / Access) การเผยแพร่ข้อมูล (Distribution) และการพิจารณาในแง่ลิขสิทธิ์ของข้อมูลก่อนที่จะนำไปใช้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e - Book คือ อะไร
e - Book (electronic book) หมายถึง หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม หรือเครื่องอ่าน e-book โดยเฉพาะ มีลักษณะเด่นกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษที่สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกเหนือจากข้อความที่เป็นตัวอักษร อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่าน
ปัจจุบันนอกจากห้องสมุดจะให้บริการในรูปสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีการบอกรับเป็นสมาชิกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในบางสาขาวิชา ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาความรู้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล สามารถอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมีการเรียกใช้ทางอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะ เรียกว่า e-book reader

การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing)
การทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เป็นหนังสือที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่พิมพ์เนื้อหาสาระของหนังสือบนกระดาษ หรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเปิดอ่านได้จากจอภาพคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรง แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถมากมาย เช่น ข้อความภายในหนังสือสามารถเชื่อมโยงกับข้อความภายในหนังสือเล่มอื่นได้ โดยเพียงผู้อ่านกดเม้าส์ในตำแหน่งที่สนใจแล้ว www Browsers จะทำหน้าที่ดึงข้อมูลที่เชื่อมโยงมาแสดงให้อ่านหนังสือได้ทันที

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สามารถแสดงข้อความ อักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหวเสมือนวิดีโอ นอกจากนี้สามารถสอบถามและสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากจอคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว สามารถอ่านหนังสือ หรือสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั่วโลก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นแฟ้มข้อมูลประเภทข้อความ (Text file) สามารถเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยโปรแกรมแท็กซ์เอติเตอร์ หรือเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั่วไปก็ได้ ข้อความที่เขียนต้องเป็นไปตามหลักภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยภายในแฟ้มประกอบด้วยข้อความที่ต้องการให้อ่าน และข้อความกำกับเมื่อดูด้วยโปรแกรม Browsers จะเห็นเฉพาะข้อความจริงเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น